วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฏีความคาดหวังของวรูม (Vroom ‘s Expectancy Theory)

ทฤษฏีความคาดหวังของวรูม
Vroom ‘s Expectancy Theory
วิคเตอร์ เอช วรูม (Victer H. Vroom) เป็นชาวแคนาดา เป็นศาสตราจารย์ด้านการวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยาของพฤติกรรมในองค์กร โดยเฉพาะเรื่องภาวะผู้นำ และสมรรถนะการตัดสินใจ หนังสือที่ท่านแต่งในปี 1964 เรื่อง “Work and Motivation” (งานและการกระตุ้น) ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย และหนังสือเกี่ยวกับผู้นำและผู้บริหาร “Leadership and Decision Making and The New Leadership” (ผู้บริหารกับการตัดสินใจและผู้บริหารสมัยใหม่) ก็ถูกอ้างอิงถึงอย่างมากมายในการศึกษา และการพัฒนาของพฤติกรรมองค์กรกำเนิดของแคนาดา นอกจากนี้ท่านยังเป็นที่ปรึกษาชั้นนำกว่า 50 บริษัท เช่น อเมริกันเอกซ์เพรส ,จีอี ,จีทีอี เป็นต้น
Vroom ‘ s Expectancy theory ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเสนอแนวความคิดว่า บุคคลจะได้รับการกระตุ้นให้กระทำสิ่งซึ่งสามารถบรรลุเป้าหมาย ถ้าเชื่อในคุณค่าของเป้าหมาย และมองเห็นว่าจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้
ทฤษฎีของ Vroom เป็นการจูงใจของบุคคลที่มีต่อสิ่งซึ่งมีคุณค่าในผลลัพธ์จากการใช้ความพยายาม (อาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ) คูณด้วยความคาดหวังจากการใช้ความพยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่ง Vroom ได้ระบุว่าการจูงใจเป็นสิ่งที่มีค่าที่แต่ละบุคคล จะพยายามกำหนดเป้าหมายและโอกาสเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
ทฤษฎี Vroom และการปฏิบัติ (The Vroom theory and practice)
สิ่งที่น่าสนใจของทฤษฎีนี้ก็คือการระลึกถึงความสำคัญของความต้องการเฉพาะบุคคลและการจูงใจให้เหมาะสม และมีความเข้ากันกับวัตถุประสงค์ ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีการจูงใจของ Maslow และ Herzberg โดยแต่ละบุคคลจะมีเป้าหมายส่วนตัวที่แตกต่างจากเป้าหมายขององค์กร แต่สามารถเข้ากันได้ นอกจากนี้ทฤษฎี Valence ยังสอดคล้องกับหลักการจัดการโดยวัตถุประสงค์ (MNO)
จากข้อสมมติฐานดังกล่าว หน้าที่ของผู้บริหารคือการออกแบบสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและการศึกษาความแตกต่างในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งจะทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ทฤษฎีนี้ค่อนข้างยากสำหรับการนำไปปฏิบัติ
ทฤษฎี Vroom เป็นไปตามสมการ ดังนี้
อำนาจ (Force) = คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence) x ความคาดหวัง (Expectancy)
โดยอำนาจ (Force) เป็นพลังที่เป็นแรงจูงใจภายในของบุคคล คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence) เป็นการที่บุคคลประเมินค่าผลลัพธ์ว่าก่อให้เกิดความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ โดยจะมีค่าระหว่าง -1 ถึง +1 ส่วนความคาดหวัง (Expectancy) เป็นการกระทำเฉพาะอย่างซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ

สมมติฐานที่สำคัญของทฤษฎีความคาดหวัง มีดังนี้
1. พฤติกรรมเป็นผลมาอำนาจ (Force) หรือพลังในตัวบุคคลกับสภาพแวดล้อม
2. บุคคลแต่ละคนจะมีความต้องการ ความปรารถนา และเป้าหมายที่แตกต่างกัน
3. บุคคลเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับทางเลือกของพฤติกรรม ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ
ทฤษฎีความคาดหวังของ Vroom (Expectancy theory)
เสนอว่าแต่ละบุคคลจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน โดยถือเกณฑ์ ความสามารถ ประสบการณ์ในการทำงานและการได้รับรางวัล ทฤษฎีนี้มีข้อสมมติที่ว่าการจูงใจ (Motivation) ขึ้นกับวิธีการซึ่งบุคคลต้องการ และวิธีการซึ่งบุคคลคิดว่าจะได้สิ่งนั้น
ทฤษฎีนี้ถือว่าความเชื่อถือของบุคคล จะนำไปสู่การเกิดผลลัพธ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อจะทำให้เกิดพฤติกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุจุดมุ่งหมาย และเลือกพฤติกรรมที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จสูงสุด
สิ่งสำคัญสำหรับทฤษฎีความคาดหวังก็คือความเข้าใจในเป้าหมายส่วนบุคคล และการมุ่งที่ความสัมพันธ์ 3 ประการ คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างความพยายามกับการปฏิบัติงาน (Effort-performance relationship) ซึ่งเป็นการ ใช้ความพยายามของบุคคลที่จะนำไปสู่การปฏิบัติงาน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานกับรางวัล (Performance-reward relationship) บุคคล มีความเชื่อว่าการทำงานในระดับในระดับหนึ่งจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างรางวัลกับเป้าหมายส่วนบุคคล (Rewards-personal goals relationship) รูปการแสดงมิติในการปฏิบัติงาน (Performance dimensions) ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการปฏิบัติงานว่าขึ้นอยู่กับสิ่งที่ให้การสนับสนุนโมเดลที่เป็นที่นิยมชี้ว่าการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นหน้าที่ที่มีปฏิกิริยาระหว่างกันเกี่ยวกับความสามารถและการจูงใจในการทำงาน
ผลการปฏิบัติงาน = ความสามารถ x การจูงใจ
Performance = Ability x Motivation = f (A x M)

การนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร/หน่วยงานในประเทศไทย
การนำทฤษฎีความคาดหวังของวรูม มาประยุกต์ใช้นั้นสามารถพบได้ทั่วไปกับวงการราชการผู้บริหารขององค์กรจะกระตุ้นพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง และเชื่อมั่นต่อไปว่าหากเจ้าหน้าที่คนนั้น ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว ย่อมจะสร้างผลงานที่น่าพอใจได้อย่างแน่นอน
หากผลงานของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นดีถึงระดับที่กำหนดแล้ว เจ้าหน้าที่คนนั้นจะได้รับการเลื่อนขั้นและรับรางวัลเป็นลำดับๆ ไป นอกจากนี้ในระบบงานราชการ ยังเพิ่มคุณค่าให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามลำดับขั้น โดยการพิจารณาความดีความชอบแก่พนักงานมีอีกหลายวิธี
ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เกิดความภาคภูมิใจ อันจะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับผลลัพธ์ ที่ได้ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีความคาดหวัง

ทฤษฏีความคาดหวังของวรูม (Vroom ‘s Expectancy Theory)

ทฤษฏีความคาดหวังของวรูม
Vroom ‘s Expectancy Theory
วิคเตอร์ เอช วรูม (Victer H. Vroom) เป็นชาวแคนาดา เป็นศาสตราจารย์ด้านการวิเคราะห์วิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยาของพฤติกรรมในองค์กร โดยเฉพาะเรื่องภาวะผู้นำ และสมรรถนะการตัดสินใจ หนังสือที่ท่านแต่งในปี 1964 เรื่อง “Work and Motivation” (งานและการกระตุ้น) ได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย และหนังสือเกี่ยวกับผู้นำและผู้บริหาร “Leadership and Decision Making and The New Leadership” (ผู้บริหารกับการตัดสินใจและผู้บริหารสมัยใหม่) ก็ถูกอ้างอิงถึงอย่างมากมายในการศึกษา และการพัฒนาของพฤติกรรมองค์กรกำเนิดของแคนาดา นอกจากนี้ท่านยังเป็นที่ปรึกษาชั้นนำกว่า 50 บริษัท เช่น อเมริกันเอกซ์เพรส ,จีอี ,จีทีอี เป็นต้น
Vroom ‘ s Expectancy theory ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยเสนอแนวความคิดว่า บุคคลจะได้รับการกระตุ้นให้กระทำสิ่งซึ่งสามารถบรรลุเป้าหมาย ถ้าเชื่อในคุณค่าของเป้าหมาย และมองเห็นว่าจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้
ทฤษฎีของ Vroom เป็นการจูงใจของบุคคลที่มีต่อสิ่งซึ่งมีคุณค่าในผลลัพธ์จากการใช้ความพยายาม (อาจจะเป็นด้านบวกหรือด้านลบ) คูณด้วยความคาดหวังจากการใช้ความพยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายซึ่ง Vroom ได้ระบุว่าการจูงใจเป็นสิ่งที่มีค่าที่แต่ละบุคคล จะพยายามกำหนดเป้าหมายและโอกาสเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น
ทฤษฎี Vroom และการปฏิบัติ (The Vroom theory and practice)
สิ่งที่น่าสนใจของทฤษฎีนี้ก็คือการระลึกถึงความสำคัญของความต้องการเฉพาะบุคคลและการจูงใจให้เหมาะสม และมีความเข้ากันกับวัตถุประสงค์ ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีการจูงใจของ Maslow และ Herzberg โดยแต่ละบุคคลจะมีเป้าหมายส่วนตัวที่แตกต่างจากเป้าหมายขององค์กร แต่สามารถเข้ากันได้ นอกจากนี้ทฤษฎี Valence ยังสอดคล้องกับหลักการจัดการโดยวัตถุประสงค์ (MNO)
จากข้อสมมติฐานดังกล่าว หน้าที่ของผู้บริหารคือการออกแบบสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่เหมาะสมและการศึกษาความแตกต่างในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งจะทำให้บุคคลเกิดพฤติกรรมที่นำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย ทฤษฎีนี้ค่อนข้างยากสำหรับการนำไปปฏิบัติ
ทฤษฎี Vroom เป็นไปตามสมการ ดังนี้
อำนาจ (Force) = คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence) x ความคาดหวัง (Expectancy)
โดยอำนาจ (Force) เป็นพลังที่เป็นแรงจูงใจภายในของบุคคล คุณค่าความพอใจในผลลัพธ์ (Valence) เป็นการที่บุคคลประเมินค่าผลลัพธ์ว่าก่อให้เกิดความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ โดยจะมีค่าระหว่าง -1 ถึง +1 ส่วนความคาดหวัง (Expectancy) เป็นการกระทำเฉพาะอย่างซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ

สมมติฐานที่สำคัญของทฤษฎีความคาดหวัง มีดังนี้
1. พฤติกรรมเป็นผลมาอำนาจ (Force) หรือพลังในตัวบุคคลกับสภาพแวดล้อม
2. บุคคลแต่ละคนจะมีความต้องการ ความปรารถนา และเป้าหมายที่แตกต่างกัน
3. บุคคลเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับทางเลือกของพฤติกรรม ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ
ทฤษฎีความคาดหวังของ Vroom (Expectancy theory)
เสนอว่าแต่ละบุคคลจะเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงาน โดยถือเกณฑ์ ความสามารถ ประสบการณ์ในการทำงานและการได้รับรางวัล ทฤษฎีนี้มีข้อสมมติที่ว่าการจูงใจ (Motivation) ขึ้นกับวิธีการซึ่งบุคคลต้องการ และวิธีการซึ่งบุคคลคิดว่าจะได้สิ่งนั้น
ทฤษฎีนี้ถือว่าความเชื่อถือของบุคคล จะนำไปสู่การเกิดผลลัพธ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อจะทำให้เกิดพฤติกรรม ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุจุดมุ่งหมาย และเลือกพฤติกรรมที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จสูงสุด
สิ่งสำคัญสำหรับทฤษฎีความคาดหวังก็คือความเข้าใจในเป้าหมายส่วนบุคคล และการมุ่งที่ความสัมพันธ์ 3 ประการ คือ
1. ความสัมพันธ์ระหว่างความพยายามกับการปฏิบัติงาน (Effort-performance relationship) ซึ่งเป็นการ ใช้ความพยายามของบุคคลที่จะนำไปสู่การปฏิบัติงาน
2. ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานกับรางวัล (Performance-reward relationship) บุคคล มีความเชื่อว่าการทำงานในระดับในระดับหนึ่งจะนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการ
3. ความสัมพันธ์ระหว่างรางวัลกับเป้าหมายส่วนบุคคล (Rewards-personal goals relationship) รูปการแสดงมิติในการปฏิบัติงาน (Performance dimensions) ซึ่งแสดงถึงความสามารถในการปฏิบัติงานว่าขึ้นอยู่กับสิ่งที่ให้การสนับสนุนโมเดลที่เป็นที่นิยมชี้ว่าการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นหน้าที่ที่มีปฏิกิริยาระหว่างกันเกี่ยวกับความสามารถและการจูงใจในการทำงาน
ผลการปฏิบัติงาน = ความสามารถ x การจูงใจ
Performance = Ability x Motivation = f (A x M)

การนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร/หน่วยงานในประเทศไทย
การนำทฤษฎีความคาดหวังของวรูม มาประยุกต์ใช้นั้นสามารถพบได้ทั่วไปกับวงการราชการผู้บริหารขององค์กรจะกระตุ้นพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง และเชื่อมั่นต่อไปว่าหากเจ้าหน้าที่คนนั้น ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว ย่อมจะสร้างผลงานที่น่าพอใจได้อย่างแน่นอน
หากผลงานของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นดีถึงระดับที่กำหนดแล้ว เจ้าหน้าที่คนนั้นจะได้รับการเลื่อนขั้นและรับรางวัลเป็นลำดับๆ ไป นอกจากนี้ในระบบงานราชการ ยังเพิ่มคุณค่าให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามลำดับขั้น โดยการพิจารณาความดีความชอบแก่พนักงานมีอีกหลายวิธี
ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เกิดความภาคภูมิใจ อันจะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับผลลัพธ์ ที่ได้ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีความคาดหวัง

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก


ที่ตั้ง ขนาด

โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 164 หมู่ที่ 10 บ้านสะแกทอง ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโรงเรียนขนาดกลาง

สภาพชุมชน

เขตบริการของโรงเรียนประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านสะแก ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
หมู่ที่ 10 บ้านสะแกทอง ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
หมู่ที่ 12 บ้านมะพริก ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
รวมมีทั้งหมด 527 ครัวเรือน

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา จากการสำรวจข้อมูลพบว่า การทำนาได้ผลผลิตต่ำ เนื่องจากต้องอาศัยน้ำตามธรรมชาติ รายได้เฉลี่ย 14,500 บาท/ปี นับว่ายังมีรายได้ต่ำ




วิสัยทัศน์

ภายในปีการศึกษา 2550 โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก จัดการศึกษาให้นักเรียนเป็นคนดี มีความสามารถ มีความสุข ก้าวทันเทคโนโลยี พัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ เน้นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น

พันธกิจ

1. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมตามหลักธรรมของศาสนา
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการอ่านและนำภาษาไทยไปใช้ในการสื่อสารได้ถูกต้อง
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ด้านทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศอย่างทั่วถึง
4. พัฒนาผู้เรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาและดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและมีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
6.พัฒนาบุคลากรให้เป็นครูมืออาชีพ
7. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
8. จัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปะแม่ไม้มวยไทย
9. ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมวางแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
10. จัดให้มีการกำกับ ติดตามประเมินผล นิเทศการทำงานอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
11. จัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 และตามนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ภาพน้ำท่วม โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก วิกฤตอุทกภัยในรอบ 50 ปี

โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก ตำบลสะแก เป็นโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้ ในเช้าวันที่ 28 ตุลาคม 2553 น้ำจากแม่น้ำมูลล้นตลิ่งท่วมนาข้าว บ่อเลี้ยงปลา เข้ามาถึงโรงเรียนสะแกพิทยาคม วัดทุ่งส่วาง และวัดอีสาน จากนั้น เวลา 08.00 น. ปริมาณน้ำไหลไหลเข้ามาท่วมบริเวณโรงเรียนทางด้านทิศตะวันออกซึ่งมีพื้นที่ต่ำ ปริมาณน้ำเริ่มสูงขึ้นเืรื่อย ๆ ในวันที่ 29 ตุลาคม 2553 เวลา 02.35 น. จ้งหวดทหารบกบุรีรัมย์ กองพันที่ 26 ได้มานำทหารเข้ามาขนย้ายสิ่งของต่าง ขึ้นไว้บนอาคารเรียนชั้น 2 ส่วนหน่วยงานทางราชการ โดยอบต.สะแก คุณจตุพร จารุสิทธิกุล ได้สนับสนุนช่ วยเหลือในด้านทรายและกระสอบทราย


น้ำท่วมบริเวณโรงอาหาร




นายวิรัตน์ พลพา ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านสะแกและคณะครู สำรวจน้ำท่วมบริเวณโรงเรียน




น้ำท่วมถนนหน้าโรงเรียน



ระดับน้ำรอบบริเวณโรงเรียน



ระดับน้ำในอาคารเรียน

โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก จัดโครงการรักการอ่าน

โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก จัดโครงการรักการอ่าน


นักเรียนเข้าเรียนตามฐานต่างๆได้แก่ ฐานการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน




นักเรียนชั้นอนุบาลร่วมกิจกรรมรักการอ่าน




นักเรียนร่วมกิจกรรมตามฐานต่างๆอย่างสนุกสนาน




นักเรียนชั้นอนุบาลและครูฝึกกิจกรรม




นักเรียนฝึกกิจกรรมตามฐาน

งานเปิดป้ายหอประชุมโรงเรียนชุมชนบ้านสะแก และฉลองหอประชุมใหม่

กิจกรรมภาคเช้าเปิดป้าย ทำบุญเลี้ยงพระโดยมี นายวิบูลย์ศักดิ์ พระภูจำนงค์ รอง ผ.อ.สพท.บ.ร.4 เป็นประธานในพิธี ภาคบ่ายเป็นกิจกรรมแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ โดยมีนายนิวัติ แก้วเพชร รอง ผ.อ.สพท.บ.ร.4 ร่วมแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมรวมบุรีรัมย์ พบ ทีมรวมอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

คณะครูและแขกผู้มีเกียรติถ่ายภาพเปิดป้ายหอประชุมไว้เป็นที่ระลึก




นายวิบูลย์ศักดิ์ พระภูจำนงค์ รอง ผ.อ.สพท.บ.ร.4 เป็นประธานในพิธีเปิดป้ายหอประชุม





แขกผู้มีเกียรติร่วมพิธีเปิดป้ายหอประชุมโรงเรียนชุมชนบ้านสะแก

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตั้งอยู่ในตัวเมืองทางไปอำเภอประโคนชัย สร้างในปี พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงก่อตั้งเมืองบุรีรัมย์ เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก พระบรมราชานุสาวรีย์มีขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ฉลองพระองค์แบบนักรบตามขัตติยราชประเพณีโบราณ ประทับบนช้างศึก จากจดหมายเหตุประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 7 กล่าวว่า ใน พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้สมเด็จพระยา มหากษัตริย์ศึกยกทัพไปปราบพระยานางรองซึ่งคบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอินแห่งจำปาศักดิ์ ขณะเดินทัพพบเมืองร้างอยู่ที่ลุ่มน้ำห้วยจระเข้มาก มีชัยภูมิดีแต่ไข้ป่าชุกชุม ชาวเขมรป่าดงไม่กล้าเข้ามาอยู่อาศัย แต่ตั้งบ้านเรือนอยู่โดยรอบ จึงรวบรวมผู้คนตั้งเป็นเมืองแปะ และให้บุตรเจ้าเมืองพุทไธสมันซึ่งติดตามมาด้วยเป็นเจ้าเมือง ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครภักดี ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองบุรีรัมย์"