วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก


ที่ตั้ง ขนาด

โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 164 หมู่ที่ 10 บ้านสะแกทอง ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโรงเรียนขนาดกลาง

สภาพชุมชน

เขตบริการของโรงเรียนประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านสะแก ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
หมู่ที่ 10 บ้านสะแกทอง ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
หมู่ที่ 12 บ้านมะพริก ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
รวมมีทั้งหมด 527 ครัวเรือน

ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา จากการสำรวจข้อมูลพบว่า การทำนาได้ผลผลิตต่ำ เนื่องจากต้องอาศัยน้ำตามธรรมชาติ รายได้เฉลี่ย 14,500 บาท/ปี นับว่ายังมีรายได้ต่ำ




วิสัยทัศน์

ภายในปีการศึกษา 2550 โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก จัดการศึกษาให้นักเรียนเป็นคนดี มีความสามารถ มีความสุข ก้าวทันเทคโนโลยี พัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ เน้นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น

พันธกิจ

1. ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมตามหลักธรรมของศาสนา
2. พัฒนาผู้เรียนให้มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน รักการอ่านและนำภาษาไทยไปใช้ในการสื่อสารได้ถูกต้อง
3. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ด้านทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศอย่างทั่วถึง
4. พัฒนาผู้เรียน โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาและดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและมีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
6.พัฒนาบุคลากรให้เป็นครูมืออาชีพ
7. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น
8. จัดกิจกรรมส่งเสริมศิลปะแม่ไม้มวยไทย
9. ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมวางแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน
10. จัดให้มีการกำกับ ติดตามประเมินผล นิเทศการทำงานอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
11. จัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 และตามนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ภาพน้ำท่วม โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก วิกฤตอุทกภัยในรอบ 50 ปี

โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก ตำบลสะแก เป็นโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในครั้งนี้ ในเช้าวันที่ 28 ตุลาคม 2553 น้ำจากแม่น้ำมูลล้นตลิ่งท่วมนาข้าว บ่อเลี้ยงปลา เข้ามาถึงโรงเรียนสะแกพิทยาคม วัดทุ่งส่วาง และวัดอีสาน จากนั้น เวลา 08.00 น. ปริมาณน้ำไหลไหลเข้ามาท่วมบริเวณโรงเรียนทางด้านทิศตะวันออกซึ่งมีพื้นที่ต่ำ ปริมาณน้ำเริ่มสูงขึ้นเืรื่อย ๆ ในวันที่ 29 ตุลาคม 2553 เวลา 02.35 น. จ้งหวดทหารบกบุรีรัมย์ กองพันที่ 26 ได้มานำทหารเข้ามาขนย้ายสิ่งของต่าง ขึ้นไว้บนอาคารเรียนชั้น 2 ส่วนหน่วยงานทางราชการ โดยอบต.สะแก คุณจตุพร จารุสิทธิกุล ได้สนับสนุนช่ วยเหลือในด้านทรายและกระสอบทราย


น้ำท่วมบริเวณโรงอาหาร




นายวิรัตน์ พลพา ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านสะแกและคณะครู สำรวจน้ำท่วมบริเวณโรงเรียน




น้ำท่วมถนนหน้าโรงเรียน



ระดับน้ำรอบบริเวณโรงเรียน



ระดับน้ำในอาคารเรียน

โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก จัดโครงการรักการอ่าน

โรงเรียนชุมชนบ้านสะแก จัดโครงการรักการอ่าน


นักเรียนเข้าเรียนตามฐานต่างๆได้แก่ ฐานการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน




นักเรียนชั้นอนุบาลร่วมกิจกรรมรักการอ่าน




นักเรียนร่วมกิจกรรมตามฐานต่างๆอย่างสนุกสนาน




นักเรียนชั้นอนุบาลและครูฝึกกิจกรรม




นักเรียนฝึกกิจกรรมตามฐาน

งานเปิดป้ายหอประชุมโรงเรียนชุมชนบ้านสะแก และฉลองหอประชุมใหม่

กิจกรรมภาคเช้าเปิดป้าย ทำบุญเลี้ยงพระโดยมี นายวิบูลย์ศักดิ์ พระภูจำนงค์ รอง ผ.อ.สพท.บ.ร.4 เป็นประธานในพิธี ภาคบ่ายเป็นกิจกรรมแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ โดยมีนายนิวัติ แก้วเพชร รอง ผ.อ.สพท.บ.ร.4 ร่วมแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมรวมบุรีรัมย์ พบ ทีมรวมอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

คณะครูและแขกผู้มีเกียรติถ่ายภาพเปิดป้ายหอประชุมไว้เป็นที่ระลึก




นายวิบูลย์ศักดิ์ พระภูจำนงค์ รอง ผ.อ.สพท.บ.ร.4 เป็นประธานในพิธีเปิดป้ายหอประชุม





แขกผู้มีเกียรติร่วมพิธีเปิดป้ายหอประชุมโรงเรียนชุมชนบ้านสะแก

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2553

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตั้งอยู่ในตัวเมืองทางไปอำเภอประโคนชัย สร้างในปี พ.ศ. 2539 เพื่อเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงก่อตั้งเมืองบุรีรัมย์ เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก พระบรมราชานุสาวรีย์มีขนาดเท่าครึ่งของพระองค์จริง หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ฉลองพระองค์แบบนักรบตามขัตติยราชประเพณีโบราณ ประทับบนช้างศึก จากจดหมายเหตุประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 7 กล่าวว่า ใน พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้สมเด็จพระยา มหากษัตริย์ศึกยกทัพไปปราบพระยานางรองซึ่งคบคิดกับเจ้าโอ เจ้าอินแห่งจำปาศักดิ์ ขณะเดินทัพพบเมืองร้างอยู่ที่ลุ่มน้ำห้วยจระเข้มาก มีชัยภูมิดีแต่ไข้ป่าชุกชุม ชาวเขมรป่าดงไม่กล้าเข้ามาอยู่อาศัย แต่ตั้งบ้านเรือนอยู่โดยรอบ จึงรวบรวมผู้คนตั้งเป็นเมืองแปะ และให้บุตรเจ้าเมืองพุทไธสมันซึ่งติดตามมาด้วยเป็นเจ้าเมือง ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานครภักดี ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองบุรีรัมย์"

บุรีรัมย์ เมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมือง เป็นเมืองแห่งปราสาทหิน ดินแดนแห่งอารยธรรมขอมโบราณ ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพฯโดยทางรถยนต์ประมาณ 410 กิโลเมตร จังหวัดบุรีรัมย์มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 10,321 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 21 อำเภอ และ 2 กิ่งอำเภอ คือ
อำเภอเมืองบุรีรัมย์ นางรอง ลำปลายมาศ ประโคนชัย พุทไธสง สตึก กระสัง บ้านกรวด คูเมือง ละหานทราย หนองกี่ ปะคำ นาโพธิ์ หนองหงส์ พลับพลาชัย ห้วยราช โนนสุวรรณ เฉลิมพระเกียรติ ชำนิ โนนดินแดง บ้านกรวด ละหานทราย บ้านใหม่ไชยพจน์ กิ่งอำเภอแคนดง และกิ่งอำเภอบ้านด่าน ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี และที่สำคัญที่สุด คือ ปราสาทขอมน้อยใหญ่กว่า 60 แห่ง ซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไป อันแสดงถึงความรุ่งเรืองของบุรีรัมย์มาแต่ครั้งอดีตกาล รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ เตาเผาภาชนะดินเผาสมัยขอม กำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-18 หลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณแล้ว หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของบุรีรัมย์เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นเมืองขึ้นของนครราชสีมา และปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมืองๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้








 

วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เที่ยวบุรีรัมย์

จังหวัดบุรีรัมย์ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญได้แก่ เขาพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ